โรงเรียนพระยาประเสริฐสุทราศัย

สื่อคณิตศาสตร์

รูปการสอน

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภค วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.) คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ เหมือนกัน เพราะการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อไปศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา โดยธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่ระดับเด็กปฐมวัยเพื่อให้รู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ไปศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวโยงกันในระดับปฐมวัย จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากคือ จะใช้วิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2.) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการอย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็นความจำเป็นและประโยชน์ของสิ่งที่ครูกำลังสอน ดังนั้นการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง” ครูปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หลากหลายแบบ และเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมีความสะดวกสบายและยืดหยุ่น มีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้หยิบถือเล่นวัตถุปละพบปะผู้คน สภาพการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวจะสนับสนุนให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง และพัฒนาความคิดและความคิดรวบยอดได้เองในที่สุด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยวิธีเน้นให้เด็กเรียนรู้จากการทำกิจกรรมด้วยตนเอง มิใช่เป็นการปล่อยให้เด็กเล่นไปตามยถากรรม แต่ทั้งนี้ครูจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการเพื่อให้เด็กค่อย ๆ พัฒนาการเรียนรู้ขึ้นเอง และเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็กสิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึงถึงในการส่งเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ก็คือ ครูจะต้องมีความเอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะลำดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอด และทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยคำนึงถึงหลักทฤษฎีที่กล่าวมาแล้ว
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ก็คือ การจดบันทึกด้านทัศนคติ ทักษะ และความรู้ความเข้าใจของเด็กในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ และขณะที่เด็กเล่นอย่างเสรีในหลาย ๆ สถานการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อาจเกิดจากกิจกรรมเดิมที่เคยทำมาแล้ว หรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องเดิมแต่อาจอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน 8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่องในการวางแผนการสอน ครูควรวิเคราะห์และจดบันทึกด้วยว่ากิจกรรมชนิดใดที่ควรส่งเสริมให้มีบ้านและที่โรงเรียน โดยยึดถือความพร้อมของเด็กเป็นรายบุคคลเป็นหลัก และมีการวางแผนร่วมกันกับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบว่า ตนเองควรส่งเสริมลูกได้อย่างไรและในเรื่องใด เป็นทั้งการตอกย้ำในเรื่องเดิม และการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอด (Concept) เดียว เช่น เรื่องเพิ่มหรือลด สำหรับเรื่องการเพิ่มหรือการบวก (Addition) นับว่าเป็นคณิตศาสตร์ขั้นแรกสุดที่เด็กอนุบาลเรียนรู้ได้ เริ่มตั้งแต่ “เราต้องการบล็อกอีกอันจึงจะพอนะ” จากนั้น เด็กจะเรียนรู้การลดหรือการลบ (Subtraction) เช่น “ถ้าให้บล็อกเธอไปอีกอันเราก็มีบล็อกเท่ากันนะซิ” นี่แสดงว่าเด็กสามารถเข้าใจเรื่องการลบและการบวกไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้เด็กจะต้องมีความเข้าใจเรื่องการบวกมาก่อนแล้ว โดยอาศัยกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการนับกันจริง ๆ จึงเกิดการเรียนรู้ได้
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลข (Concept of Number) ของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น มีทั้งแบบจัดประเภท (Classifying) เปรียบเทียบ (Commparing) และจัดลำดับ (Ordering) กระบวนการเล่นเหล่านี้ยังต้องอาศัยการนับ เศษส่วน รูปทรงและเนื้อที่ว่าง การวัด การจัดและการเสนอข้อมูล ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นฐานไปสู่ความเข้าใจคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่เป็นนามธรรมต่อไป
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายกับเด็กปฐมวัยจะทำได้ก็ต่อเมื่อเด็กได้ฝึกฝนจนเข้าใจความหมายดีแล้ว
15. ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์การเตรียมพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์นั้น จะต้องฝึกให้เด็กได้พัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้
3.) จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
4. การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตราฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
7. การเรียนงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
8. การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์
4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ตอบ ทักษะสังเกต จำแนกและเปรียบเทียบ
    เป็นทักษะเริ่มต้นในการเรียนและเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์
    1. ทักษะเกี่ยวกับตัวเลขและจำนวนเด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน การเพิ่มหรือลดลงของจำนวน
    หรือปริมาณได้
    1. ความรู้สึกเชิงจำนวน เกิดขึ้นเองภายในของแต่ละคนเกี่ยวกับจำนวน การใช้จำนวน ตีความจำนวนได้หลากหลาย รวมทั้งความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
    2. พัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน การพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
    - ขั้นก่อนการนับ เข้าใจแต่ยังไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน
    - ขั้นความเข้าใจเชิงอันดับที่ เข้าใจคำถามว่าอันไหนใหญ่ที่สุด
    - ขั้นความเข้าใจเชิงการนับ
    - ขั้นความเข้าใจหลากหลายระหว่างจำนวน
    3. ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวน
    3. ทักษะเชิงมิติสัมพันธ์
    1. รูปทรงและพื้นที่
    - เรขาคณิต สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น ลักษณะบ้าน รูปร่างของกล่อง
    - เรขาคณิตไปใช้ในการจัดประสบการณ์
    - พัฒนาทักษะการคิด 4 ขั้นตอน 1. ระลึกได้ 2. พื้นฐาน
    3. ขั้นวิเคราะห์ 4. ขั้นสร้างสรรค์
    - การให้เหตุผลแบบอุปนัยกับนิรนัย
    - พัฒนาความคิดโดยการให้เหตุผล เปิดโอกาสให้เด็กค้นหา
    2. จุด เส้น มุม และระนาบ
    3. รูปเรขาคณิต 2 มิติ กับ 3 มิติ
    4. ทักษะการวัด
    1. ธรรมชาติของการวัด
    2. ความยาวและอาณาเขต
    3. น้ำหนัก
    4. เวลาและเงิน
    5. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    - การแก้ปัญหา
    - การให้เหตุผล
    - การเชื่อมโยง
    - ภาษาและการสื่อสาร
    - คิดริเริ่มสร้างสรรค์
    6. ภาษา คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
    - ภาษากับการพัฒนาความคิดรวบยอด
    - ภาษากับการแก้ปัญหา
    - ภาษาและคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
    5.) ท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรได้บ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม

ตอบ วิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้พูดเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ และให้เขาได้สร้างความคิดรวบยอดได้ การฝึกหัดและการมีส่วนช่วยงานบ้านในชีวิตประจำวัน คือ วิธีการหนึ่งที่เด็ก จะรู้สึกสนุกกับการเล่นสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและช่วยเหลืองานบ้าน เช่น จัดโต๊ะอาหาร ไปจับจ่ายซื้อของ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ทำแซนวิช เก็บของให้เข้าที่ กิจกรรมใดๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน จัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทีย หรือจัดลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเด็กจะยังเล็กเกินกว่าจะเข้าช่วยงานบ้านที่คุณกำลังทำ คุณก็สามารถปล่อยให้พวกเขาได้เฝ้าดูคุณทำและพูดคุยถึงสิ่งที่คุณกำลังทำก็ได้ เช่น การเล่นชุดแม่ครัวหัวป่า วิธีการเล่นมีดังนี้
ประกอบด้วยของเล่นต่อไปนี้กะทะพลาสติกเล็กๆ เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือกะทะของจริงขนาดเล็กๆก็ได้เตาและตู้เก็บของจากวิธีทำข้างล่างนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่ายๆ
1. หากล่องขนาดใหญ่ที่แข็งแรง (เช่น กล่องโทรศัพท์ ตู้เย็น) แล้วปิดฝาทุกด้านให้สนิท
2. ปะกระดาษแข็งบนฝากล่องด้านบนเพื่อให้มีพื้นที่เรียบ
3. ใช้มีดกีรดเจาะฝากล่องด้านหนึ่งทำเป็นประตูเปิดปิด
4. ทา/พ่นสี ให้ทั่วเอให้สวยงามทนทาน (สีปลอดสารพิษ)

5. วาดรูปวงกลมเล็กๆ บนฝากล่องทำเป็นรูปเตา พร้อมทั้งวาดรูปปุ่มที่กดเปิดปิดเหมือนของจริง

6. ทำที่เปิดปิดประตูตู้อบด้วยกระดาษแข็งจามจัวอย่างในรูป

7.อ่างล้างชามเล็กๆและถังน้ำ หาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เมื่อประมาณช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ อาจารย์ก็ได้สั่งงานไปก็คือ กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ก็ได้สั่งมานานมากๆแล้ว พอบังเอิญได้ไปเปิดดูสมุดจดการบ้าน แทบตกใจเลย Oh my god พระเจ้าช่วยกล้วยทอด เราลืมงานที่อาจารย์สั่งไปได้อย่างไร
พอดีวันนี้มีโอกาสก็เลยนั่งเซิร์ตๆหาไปเรื่อยๆก็พลันสายตาไปเจอเข้ากับเว็บๆหนึ่ง เป็นหัวข้อเรื่อง คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน ถ้าหากสนใจเพิ่มเติมลอง Click เข้าไปดูนะคะ
เนื้อหาโดยทั้งหมดเป็นการบรรยายโดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน"
เมื่อลองอ่านแล้วมีอยู่ประโยคหนึ่งที่ อาจารย์สุรัชน์กล่าวคือ "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น"
จากที่อาจารย์กล่าวมานั้นถ้าเราลองคิดดีๆคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงๆ ทั้งในชีวิตประจำด้วย ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงหลับไปอีกรอบ ก็เป็นคณิตศาสตร์แล้ว ก็คือเรื่องของเวลานั่นเองว่าจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง หรือเรื่องของกลางวัน กลางคืน
อ.สุรัชน์ ยังยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด
หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยากเพียงกิจกรรมเล็กๆน้อยๆเราก็สามารถทำร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูกได้แล้ว แค่การทำอาหารง่ายๆก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปในตัวได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้ปกครองที่กล่าวมานั้น ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ และเพื่อนๆก็อย่าลืมว่า คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงค่ะ วันนี้ก็ขอไว้แค่นี้ก่อนนะคะ จ้ายเจี้ยนค่ะ

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงและคำคล้องจองคณิตศาสตร์


เพลงและคำคล้องจองคณิตศาสตร์

1.กลอนหนึ่ง-สอง



หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะแล๊ก แทร๊กแทร๊ก


สาม สี่ ดูให้ดี

ห้า หก ส่องกระจก

เจ็ด แปด ถือปืนแฝด

เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอย โอย


2.กระรอกบอกข่าว

กระรอก กระรอก เจ้ามาบอกข่าว

ขนนุ่ม หางยาว มากันกี่ตัว

หนึ่ง สอง สาม สี่ อยู่นี่เป็น ห้า

รีบบอกข่าวมา ไม่ต้องตื่นกลัว

กระรอกบอกข่าว ว่าฝนจะตก

ตัวสั่นงันงก ส่งเสียงรัว รัว


3.ขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)

เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา

คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่

(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)

ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี


4.จับปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีฉันต้องสั่นหัว

กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบที่หัวแม่มือ

ลา ล้า ลา ..............................................


5.ซ้าย-ขวา

เราใช้อะไร อ๋อมือสองข้าง

ซ้าย ขวา ใช้ต่าง กันบ้างนิดหน่อย

มือขวาถนัดกว่า เพราะว่าใช้บ่อย

มือซ้ายใช้น้อย ไม่ค่อยถนัดเอย


6.ซ้าย-ขวา

ปรบมือข้างซ้าย (ปรบมือทางซ้าย 2 ครั้ง)

ปรบมือข้างขวา (ปรบมือทางขวา 2 ครั้ง)

พวกเรามาสนุกเฮฮา ปรบมือข้างซ้าย ปรบมือข้างขวา


7.ซ้าย-ขวา

เราปักชื่อที่เสื้อด้านขวา ด้านซ้ายนั้นหนามีกระเป๋า

เราจำจากเสื้อของเรา เสื้อของเขาก็มีขวา-ซ้ายเอย


8.ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-กลาง-หนา-บาง

แม่กระต่ายเดินมา นำหน้าลูกน้อย

เดินตามต้อยต้อย สีขาวอยู่หลัง

สีดำน่าดู เดินอยู่ตรงกลาง

ทางซ้ายหญ้าบาง ทางขวาหนาเอย


9.เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา

คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน

ช้างม้า มีขา สี่ขา เท่ากัน

แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย


10.นกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า

อีกฝูงบินล่องลอยมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว


11.นกสิบตัว

นกสิบตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้

ตัวหนึ่งบินไปเหลือเก้าตัว

(ลดจำนวนนกลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือนกหนึ่งตัว)

นกหนึ่งตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้

พอมันบินไปก็ไม่มีนกเหลือเลย


12.นับนิ้วมือ

นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว

มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว

นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ

นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


13.บน-ใต้

ฉันนอน บนเตียง ส่งเสียง แจ๋วแจ๋ว

หนูห่ม ผ้าแล้ว ไว้กัน ลมหนาว

นอนดิ้น ไปมา ฝันว่า คว้าดาว

ตื่นมา แสนหนาว ผ้าตก ใต้เตียง


14.บน-ใต้-ใกล้-ไกล

ลูกเป็ดยืนอยู่ใกล้ ฟางกองใหญ่ใกล้ริมทาง

ลูกหมาวิ่งส่ายหาง ยังอยู่ห่างไกลออกไป

ลูกนกผกโผบิน แล้วบินเกาะบนไม้ใหญ่

กระต่ายขาวแสนตกใจ วิ่งมาใต้ต้นไม้เอย


15.บวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ

มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ


16.เป็ดห้าตัว

เป็ดน้อยห้าตัวเตาะแตะตามกัน เดินเพลิดเพลินมาในไพวัลย์

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยสี่ตัวกลับมาน่าชัง

(ถึงไม่กลับเลยแนะเออน่าชัง)

แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึกก้องในไพวัลย์

ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยห้าตัวกลับมาดีจัง


17.มาก-น้อย

แม่ให้ เงินพี่ วันนี้ ห้าบาท

แต่ฉัน ได้ขาด สองบาท ใช่ไหม

ฉันได้ สามบาท น้อยกว่า เสียใจ

พี่ได้ มากกว่า ยิ้มร่า ยินดี


18.มาก-น้อย,เท่า-ไม่เท่า,สูง-ต่ำ,สั้น-ยาว

มีเด็กสองคน วิ่งวนเลี้ยงไก่

คนสูงถือไม้ อันยาวหนักหนา

มีไก่สิบตัว มากจนลายตา

อีกคนน้อยกว่า ห้าตัววิ่งไว

ถือไม้อันสั้น เขานั้นตัวต่ำ(เตี้ย)

นับไก่น่าขัน เท่ากันหรือไม่

ห้าตัว สิบตัว รีบนับเร็วไว

สูง-ต่ำมีไก่ ไม่เท่ากันเลย


19.แม่ไก่-ลูกไก่

หนึ่ง สอง สามและสี่ แม่ไก่มีลูกสี่ตัว

ลูกจ๋าอย่าทำชั่ว จงเกรงกลัวเรื่องบาปกรรม

ลูกเจี๊ยบต่างรักแม่ จึงมีแต่เชื่อฟังคำ

ทำดีทุกเช้าค่ำ หากทำชั่วจะเป็นทุกข์

แม่มองเจี๊ยบทั้งสี่ เป็นเด็กดีแล้วมีสุข

จึงร้องว่า “กุ๊ก กุ๊ก” แม่รักลูกทุกทุกตัว


20.แม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง

แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง (นับต่อไปเรื่อยๆ)

แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง


21.แม่ค้าข้าวหลาม

แม่ค้า แม่ค้าข้าวหลาม ซื้อ หนึ่ง สอง สาม ราคาเท่าไร

ขอซื้ออีก สี่ ห้า หก ข้าวหลามกลิ้งตกรีบเก็บไวไว

ซื้อหกขอแถมอีกหนึ่ง ไปจิ้มน้ำผึ้งอร่อยเหลือใจ


22.ลูกแมวสิบตัว

ลูกแมวสิบตัวไต่อยู่บนหลังคา ตัวหนึ่งกระโดดตุ๊บลงมาเหลือลูกแมวเก้าตัว

(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)

ลูกแมวตัวหนึ่งไต่อยู่บนหลังคา พอมันกระโดดลงมาบนหลังคาก็ไม่มีแมว


23.ลูกแมวสิบตัว

ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว

ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว

(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)

ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว

ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว


24.ลูกหนู

ลูกหนูตัวหนึ่งซ่อนอยู่ในตู้ อีกตัวตามมาดูรวมเป็นสองตัว

(นับขึ้นเรื่อยๆจนครบสิบ)


25.สั้น-ยาว

ไม้บรรทัด ของฉัน อันยาว เท่านี้

ดินสอ ของพี่ สั้นกว่า ใช่ไหม

ยางลบ ของน้อง ยิ่งสั้น ลงไป

ไม้บรรทัด นี่ไง ยาวกว่า ใครเลย


26.สูง-เตี้ย

เสาธง ตรงแน่ว เห็นแล้ว ใช่ไหม

มีเสา ชาติไทย ผูกไว้ นั่นหนา

เสาธง สูงเด่น มองเห็น งามตา

ต้นไม้ เตี้ยกว่า เสาสูง จริงเอย


27.หนัก-เบา

นั่นแน่ใบไม้ ปลิวลมไปมา

สบายจริงหนา เพราะเบาเหลือใจ

ก้อนหินอยู่นิ่ง กลิ้งไปไม่ได้

หนักกว่าใบไม้ ลมแรงไป


28.หนา-บาง

โต๊ะเรียน ของฉัน นั้นทำ ด้วยไม้

ไม้หนา เห็นไหม ฉีกไม่ ขาดเลย

กระดาษ ของฉัน นั้นบาง เหลือเอย

ฉีกนิด ขาดเลย ไม้หนา น่าชม


29.หน้า-กลาง-หลัง

เรือใบ สีแดง แล่นแซง ขึ้นหน้า

เรือใบ สีฟ้า ตามมา อยู่กลาง

เรือใบ ลำไหน แล่นอยู่ ข้างหลัง

สีขาว ช้าจัง อยู่หลัง สุดเลย


30.หนึ่ง-สอง-สาม

หนึ่ง สอง สาม เป็นยามปลอด สี่ ห้า ลอดรั้วออกไป

หก เจ็ด แปด แดดแจ่มใส เก้า สิบ ไวไววิ่งไล่กัน

สิบเอ็ด สิบสอง รีบย่องกลับ สิบสาม สิบสี่ หลับแล้วฝัน

สิบห้า สิบหก ตกเตียงพลัน สิบเจ็ด สิบแปด นั้นฉันหัวโน


31.ใหญ่-เล็ก

มาลี เดินมา เห็นหมา ตัวใหญ่

มาลี ร้องไห้ ตกใจ กลัวหมา

เห็นแมว ตัวน้อย ค่อยค่อย ก้าวมา

แมวเล็ก กว่าหมา มาลี ไม่กลัว



32.ใหญ่-เล็ก,อ้วน-ผอม


หนูนิดเป็นพี่ ดูซิตัวใหญ่

อ้วนกว่าหนูใหม่ ตัวเล็กเป็นน้อง

หนูใหม่นั้นหนา ผอมกว่าเป็นกอง

นิดหนักกว่าน้อง ใหม่ผอมตัวเบา


33.อ้วน-ผอม

มีเด็ก คนหนึ่ง ซึ่งเขา กินมาก

ลุกนั่ง ลำบาก เพราะอ้วน เกินไป

ส่วนเด็ก อีกคน ไม่กิน อะไร

จนผอม เหลือใจ ไม่มี เรี่ยวแรง


34.เพลงกำมือ

กำมือขึ้นแล้วหมุนหมุน ชูมือขึ้นโบกไปมา

(ซ้ำทั้งประโยค)

กางแขนขึ้นและลง พับแขนมือและไหล่

กางแขนขึ้นและลง ชูขึ้นตรงหมุนไปรอบตัว


35.เพลงหนอนผีเสื้อ

หนอนตัวน้อยๆ ค่อยๆ คลืบคลาน

ค่อยๆ คลืบคลานหาอาหารกิน

หนอนกินใบไม้ มันกินมันกิน

กินไม่หยุดยั้ง ทั้งวันทั้งคืน

หนึ่งสัปดาห์กว่า มันเติบโต

เปลี่ยนแปลงมาโข สร้างเปลือกหุ้มตัวไว้

สองสัปดาห์ดักแด้เปลี่ยนไป

สู่ชีวิตใหม่เป็นสีเสื้อแสนงาน


36.เพลงข้างขึ้นข้างแรม

ค่ำคืนข้างแรม เห็นดวงดาวแจ่มกระจ่างฟ้า

ด้วยเดือนเลื่อนลา เลื่อนลา ลับตาจากไป

จากไปนานครึ่งเดือน ก็กลับมาเยือนฟ้าใหม่

ค่ำคืนเดือนหงาย พระจันทร์สุกใสเต็มดวง


37.เพลง ยืนตัวตรง

ยืนตัวให้ตรง ก้มหัวลงตบมือแผะ

แขนขวามอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

ยืนตัวให้ตรง ก้มหัวลงตบมือแผะ

แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ


38.เพลงสามฤดู

ฤดูฝนต้นเดือนเมษา

ฤดูหนาวราวเดือนพฤษจิกา

ฤดูร้อนเริ่มราวเดือนมีนา

สามฤดูเวียนมาในรอบหนึ่งปี


39. หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือนอย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ
-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ละหน่วยควรสอนอย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามความสนใจและความสามารถของเด็ก
-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เช่น แบบสังเกต เป็นต้น
และอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog
เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเขียนบันทึกจากที่ได้เรียนมาทั้งหมดเป็นการสรุป ค่ะ
สำหรับบรรยากาศในการเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย
อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนดีเหมือนเดิม อากาศเย็นสบาย
เอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ

หน่วยดอกไม้งานกลุ่ม

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวัน 11กุมภาพันธ์ 2553

สวัสดีค่ะวันนี้ก็เป็นอีกวันแล้วนะค่ะ ที่มีการนำเสนอการสอนของกลุ่ม A หน่วย แมลง เพื่อนๆกลุ่มA เทคนิคการสอนที่หลากหลายและแทรกคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย ก่อนที่เพื่อนจะนำเสนออาจารย์ก็ให้พวกเรานักศึกษาลงชื่อ Practicum 2 และอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาของ2โรงเรียนที่ต้องย้ายที่ฝึกใหม่ เนื่องจากปัญหาโครงการสหกิจที่กำหนด ซึ่งโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยที่ดิฉันไปสังเกตก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเราในกลุ่มต่างตกใจมากค่ะ เพราะไม่คิดว่าต้องย้าย ยิ่งกว่านั้นอาจารย์ให้ออกไปหนึ่งคนอีกด้วย พวกเราเลยไปขออาจารย์ให้เป็น 2 คนเพราะจะได้มีเพื่อนไปด้วยกัน สุดท้ายดิฉันและเพื่อนอีกคนที่ต้องออก พวกเราในกลุ่มต่างพากันเสียใจมากที่ต้องแยกกัน แต่ไม่นานก็กลับมาดีใจอีกครั้งที่ได้กลับมาอยู่โรงเรียนเดิมต้อง ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะที่เห็นใจพวกเรา
ตลอดการนำเสนอทั้ง 2 กลุ่มที่ผ่านมา พวกเราได้คำแนะนำมากมายค่ะ และจะนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะนำไปใช้ในการสอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนวัน 10 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นวันที่พวกเรามีการเรียนการสอนชดเชยค่ะ อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอการสอน พร้อมกับแผนการสอน โดยอาจารย์ให้กลุ่ม A หรือB กลุ่มใดก็ได้ออกก่อน แต่อยากให้พวกเราเริ่มตั้งแต่อนุบาล 1 แต่ไม่มีเพื่อนกลุ่มไหนออกก่อน พวกเรากลุ่ม B หน่วย ดอกไม้ อนุบาล 2 เลยออกก่อน พวกเราในกลุ่มตื่นเต้นมากๆค่ะ ต่างคนต่างเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาให้พร้อม พอถึงคิวของดิฉันที่ต้องสอนหน่วย ประโยชน์ของดอกกุหลาบ เป็นการสอนในวันที่ 3 ค่ะ พอสอนไปได้หน่อยหนึ่งอาจารย์ก็คอมเม้นต์ ว่า เรื่องประโยชน์ของกุหลาบน้อยไป และให้ข้อแนะนำถึงเทคนิคการสอนว่าควรปรับให้เป็นนิทานหรือภาพตัดต่อดีกว่า เพราะสิ่งที่เตรียมมา คือ การทำการ์ดวันวาเลนไทน์จากประโยชน์กลีบกุหลาบ ซึ่งมันควรเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ไม่ใช่กิจกรรมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ และอาจารย์ก็ให้ไปแก้ไขแผนการสอนให้สมบรูณ์ พอเพื่อนๆนำเสนอครบ5 วันแล้ว อาจารย์ก็ให้พวกเราไปปรับเปลี่ยนการสอนที่ให้ต่อเนื่องกัน เปรียบเหมือนการเขียนแผนคนเดียวที่เข้าใจและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นก็เป็นกลุ่มอนุบาล 1และ 3 อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเทคนิคแตกต่างๆออกกันไปค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากมาย
เวลาก็ล่วงเลยมาจนถึง 5 โมงเย็นแล้ว เพื่อนๆเริ่มง่วงนอน อยากกลับบ้านกันแล้ว ก็เพราะพวกเราเรียนตั้งแต่เที่ยงจนเย็นนี้แหละ โชคดีมากที่มีประตูเปิดจากคุณป้าแม่บ้าน ให้อาจารย์รีบปล่อยนักศึกษา เพราะวันพุธจะมีการปิดตึกเร็ว อาจารย์ก็เลยให้พวกเรามานำเสนอต่อในวันพรุ่งนี้ตามเวลาเรียนปกติ แล้วอาจารย์ก็ให้พวกเราที่นำเสนอไปแล้วกลับไปแก้ไขแล้วมาให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง